วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

จักร 7 ดาว ทำนายกาลชะตา

ใช้เป็นที่รวบรวมข้อมูลเลข 7 ตัวที่ผมค้นๆอ่านเจอ
และพบว่าท่านที่เผยแพร่ความรู้เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ตั้งใจเผยแพร่ความรู้อันเป็นประโยชน์

ส่วนไหนที่ผมพบว่าเป็นข้อมูลที่ควรจดไว้ช่วยจำ ผมก็เอามาใส่ที่นี่
ไว้ทบทวน ป้องกันเวลาอ่านมากๆไปแล้วลืมหาไม่เจอ

การเก็บรวบรวมเป็นที่ จะช่วยได้มากครับในอนาคต เพราะผมไม่ทราบว่าเว็บบอร์ดจะเก็บข้อมูลเหล่านี้ได้นานแค่ไหน

แรงบันดาลใจ คือ ผมเอาไปลงบลอกส่วนตัว แต่เกรงว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวไป
อยากให้เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ ก็เลยเอามาทำต่างหากเป็นเรื่องเลข 7 ตัวเรื่องเดียว

ก็เริ่มจากจุดนี้แหละครับ


ยามอัฐกาล เป็นยามสำคัญในโหราศาสตร์ไทย ที่มีเคล็ดลับในการใช้มากมาย

ยามนี้ อย่าใช้พร่ำเพรื่อ ใช้เมื่อศึกษาในวิชาโหราศาสตร์ และเมื่อต้องการจับยามกาลชะตาเท่านั้น

คลิกที่รูปเพื่อขยายดูภาพครับ

ยามอัฐกาล

ส่วนอันนี้เป็นชอตคู่มือตำราที่ผมทำไว้ศึกษา วิชา จักร 7 ดารา ของท่านถั่วงอกฯ
ไม่หวงครับ ใครนำไปใช้ศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ แต่ยืนยันตามท่าน อ.รัชกร(ถั่วงอกฯ)
ว่าขอให้ยืนตามประสงค์ของผู้เผยแพร่ คือ ท่านถั่วงอกฯ คืดใช้เพื่อส่วนรวม เผยแพร่ต่อๆไป

อย่าแอบอ้างเป็นเป็นเจ้าของ หรืือเป็นวิชาของตนเท่านั้นเอง ขอให้ได้ใช้ประโยชน์แก่สาธารณะตามความประสงค์นี้นะครับ

คู่่มือ จักร 7 ดารา ท่านถั่วงอก

ในตารางที่ 2 นี้แบ่งเป็น 3 ส่วน
ส่วนแรกคือเมื่อท่านจำยามอัฐกาลได้แล้ว ทราบว่าเป็นดาวใด
ให้แบ่ง 1 ชม.ครึ่งในยามนั้นเป็น 3 ส่วน ส่วนละ 30 นาที
แล้วมาดูที่ตรียางค์ ประกอบ

ยามส่วนแรก ได้ดาวใด และได้ยามใดก็ดูที่ตารางตรียางค์
ใช้ตรียางค์ที่ 1 ยามกลางใช้ตรียางค์ที่ 2 และยามปลายใช้ตรียางค์ที่สาม
ซึ่งก็จะได้อัตตะ เลขตัวแรกมาตั้ง

ในส่วนที่ 2 หา ตนุ
ให้นับเวลาที่เกินในแต่ละช่วงของยามนั้นๆ ตั้ง
แล้วหักลบช่องละ 3 นาที 20 วิ ตามที่ท่านถั่วงอกบอก
เศษ 20 วิ รวม ได้ ครบ 60 วิ ปัดเป็น 1 นาที (ไม่ใช่ 100นะครับ ระวัง)
เพราะฉะนั้น จะได้ 3 ช่อง = 10 นาที
ผมทำตารางชุดที่ 2 ไว้ดูประกอบกันพลาด

ท่านสามารถใช้ได้ตามสะดวก
สมมุติเวลา 15 นาที ผมหักตามนี้ จะได้ช่องที่ 5 13.20-16.40 วิ นั่นเอง
ก็นับช่องไปตามราศี

ถามกลางวันใช้สีส้ม ถามกลางคืนใช้สีเหลือง จะได้ไม่งงสำหรับคนที่เพิ่งหัด
แต่ถ้าเป็นแล้วต้องรู้ว่าที่มามาจากไหนนะครับ

ส่วนที่ 3 มรณะ นับต่อไปเลยตามจำนวนนาที แต่คราวนี้หัก 2.30 วิ หรือ 2 นาทีครึ่ง
4 ช่อง เท่ากับ 10 นาที 15 นาที คือ ช่องที่ 6 พอดี นับไป 6 ช่องถัดจากเรือนเกษตรดาวเดิม
แล้วได้เกษตรดาวใด ให้ดู ตรียางศ์ที่สาม เอามาใช้

งง..สงสัย ถามท่านถั่วงอกอย่างเดียวครับ ผมเองก็กำลังศึกษา
ไว้ชำนิชำนาญแล้วจะช่วยท่านถั่วงอกฯ อีกแรง..555

6 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

หลักวิชา จักร ๗ ดาว
๑. วิชานี้ เป็นเรื่องแปลกที่มีการตัดเวลา ๑๘ นาที สำหรับ การผูกดวงที่กทม.(ยึดเอาตำแหน่งที่อยู่ของเราเป็นสำคัญ ไม่ใช่คนถาม

ดังนั้น เขาจะอยู่สุไหงโกลก แต่เราอยู่กทม. จะแชทคุยกันยังไง
ถ้าตั้งดวงให้เขา ก็ต้องลบ ๑๘ นาทีก่อน
(ถ้าท่านอยู่กทม.นะครับ)

หากอยู่ตจว.(ผมลองแค่ที่นนทบุรีเพราะชอบไปห้างเดอะมอลล์งามวงศ์วาน และก็ใ้ช้ได้ดีมาก ๆ เพราะผมเอง ไม่ชอบการตัดเวลา มิน่า มันถึงเวิร์คเฉพาะที่นั่น) ใช้เวลานั้น ๆ ได้เลย (ตรงนี้ น่าจะคล้ายกับบริเฉท ๗ ดารานะครับ)

ตรงนี้ หากท่านใด จะลองกับจังหวัดที่อยู่ของท่าน ก็ลองได้นะครับ ผลเป็นประการใด รบกวนบอกกล่าวกันด้วย

geranun.com กล่าวว่า...

๒.วิธีใช้ สมมติมีคนโทรฯหาเพื่อถามอะไรสักเรื่องนึง ท่านดู "จุดเวลา" ทันที ถ้าท่านอยู่กทม.ให้ลบ ๑๘ นาทีก่อนให้เรียบร้อย

จากนั้น จับยามครับ
จับยามอัฐกาลธรรมดานี่แหละ
จำได้ไหมครับ เลขสองชุดนี้ครับ
ถ้ากลางวัน ก็ ๑ ๖ ๔ ๒ ๗ ๕ ๓ ยามวันไหน ก็เอาเลขวันนั้นตั้ง เช่นวันพุธ ก็เอา เลข ๔ แล้วไล่วนเป็นวงกลม แล้วเขียนเลข ๔ ปิดท้ายอีกครั้ง กลายเป็นยามกลางวันทั้งแปดยาม ยามละ หนึ่งชม.ครึ่ง
อย่างวันพุธกลางวัน ก็เป็น ๔ ๒ ๗ ๕ ๓ ๑ ๖ ๔
วันพฤหัสกลางวัน ก็เป็น ๕ ๓ ๑ ๖ ๔ ๒ ๗ ๕

ชุดนี้ยามกลางคืนครับ
๑ ๕ ๒ ๖ ๓ ๗ ๔
ทำเหมือนยามกลางวัน
ถ้าไม่คล่อง ไปหาอ่าน ตำรายามอัฐกาลเอาครับ หาไม่ยากหรอกครับ

ที่มา - ถั่วงอกเรียกอาจารย์ -

geranun.com กล่าวว่า...

๓ . ท่านตั้งจักราศี เหน่ง ๆ ขึ้นมาวงหนึ่ง
ถ้าไม่คล่องรบกวนลงดาวเกษตร ประจำราศีให้เรียบร้อยนะครับ ถ้าคล่องแล้ว ก็ไม่เป็นปัญหา

จักรราศีที่ว่านี้ ให้ใช้ดาวเสาร์ เป็นเกษตรที่ราศีกุมภ์แทนราหูนะครับ เพราะว่า เราจะเอามาทำเป็นเลข ๗ ตัว
จากนั้น ท่านต้องมองนิดนึง ว่าเวลานั้น กลางวัน หรือกลางคืน ยึดหกโมงเช้า หกโมงเย็นเป็นหลักนะครับ กลางวัน หกโมงเช้า ถึงหกโมงเย็น กลางคืน หกโมงเย็นถึงหกโมงเช้า

เหตุที่ต้องมองตรงนี้ เพราะจักรราศีนั้น เขาจะมีดาวเ้จ้าเรือนเกษตรส่วนใหญ่ อยู่สองตำแหน่ง
ถ้าจับยามกลางวัน ใช้ราศีภาคกลางคืน จับยามกลางคืน ใช้ราศีภาคกลางวัน

เว้นแต่ยามเสาร์นะครับ ใช้ มังกรตอนกลางวัน กุมภ์ตอนกลางคืน (อย่าเพิ่งงงครับ แต่เท่าที่ผมทดสอบมา ได้อย่างนี้ ต้องรบกวนทุกท่านช่วยทดสอบต่อ)

จำแค่นี้คงไม่ยากใช่ไหมครับ
จับยามกลางวัน ใช้ราศีภาคกลางคืน
จับยามกลางคืน ใช้ราศีภาคกลางวัน

ยกเว้น ยามเสาร์ ใช้มังกร ตอนกลางวัน ใช้กุมภ์ตอนกลางคืน

geranun.com กล่าวว่า...

ที่มา - ท่านถั่วงอกเรียกอาจารย์ -

๔.หาอัตตะ
ด้วยการแบ่งช่วงยามนั้น ๆ ออกเป็นสามส่วน ส่วนละครึ่งชม. เป็น
-ต้นยาม
-กลางยาม
-ปลายยาม

สมมติว่า เวลา ที่มีคนถามคือเวลา ๑๑.๔๔น. ที่นนทบุรี วันพุธ นับยามได้ ยามพฤหัส แต่เป็นปลายยาม

เราหาอัตตะ ด้วย ตรียางค์ ครับ
ตรียางค์คือแบ่งสามส่วน ใช้ราศีที่เป็นธาตุเดียวกัน(ท่านใดไม่เข้าใจ ไปหาอ่านตำราว่าด้วยตรียางค์ซะดี ๆ ผมคงไม่อธิบายล่่ะ มันยุ่ง)

ต้นยาม ใช้ดาวเกษตรตรียางค์แรก
กลางยาม ใช้ดาวเกษตรตรียางค์ที่สอง
ปลายยามใช้ดาวเกษตร ตรียางค์ที่สาม

ในกรณีตัวอย่างข้างบนนี้
ใช้ยามพฤหัส ตรียางค์ที่สาม
แต่ต้องนับจากพฤหัสราศีมีน

เพราะเป็นช่วงกลางวัน เลยต้องใช้ราศีภาคกลางคืน
แต่หากจับยามใสช่วงกลางคืน ท่านต้องเริ่มนับจากพฤหัสราศีธนูที่เป็นราศีภาคกลางวันนะครับ

ตรียางค์ที่สามของพฤหัสราศีมีน
คือ ราศี พิจิก

ท่านใช้ ดาวเกษตรของราศีพิจิก คือ ๓ เป็นอัตตะ

geranun.com กล่าวว่า...

หาตนุ
ตรงนี้สำคัญ อ่านช้า ๆ ครับ

ท่านต้องมองว่า เวลาที่เราจับได้นั้น ผ่านยามต้น ยามกลาง หรือยามปลาย มากี่นาที

ในที่นี้ ตัวอย่าง เราให้ เวลา ๑๑.๔๔ นาที
ผ่านยามปลายมา ๑๔ นาทีแล้ว

เรานับจากราศียามที่เราจับได้
(ในที่นี้ คือราศีมีน ยามพฤหัส กลางวัน) ไปช่องละ ๓ นาที ๒๐ วินาทีครับ
จนถึง ๑๔ นาที และนับแบบอุตราวรรษ(เวียนซ้าย)นะครับ เหมือนการโคจรของดาวธรรมดาทั่วไป

อ่านช้า ๆ อีกครั้ง แล้วเดี๋ยวนับตามนะครับ
เอาล่ะ สมมติว่า อ่านจบแล้ว

เรามานับกัน นับจากราศีมีน
๓ นาที ๒๐ วินาที พ้นไปแล้ว

เข้าราศีเมษ
๓ นาที ๒๐ วินาที รวมเป็น ๖ นาที ๔๐ วินาที

ไปที่ราศีพฤษภ อีก ๓ นาที ๒๐ วินาที รวมเป็น ๑๐ นาที (นับง่าย ๆ สามช่องสิบนาทีครับ)

ราศีเมถุนอีก ๓ นาที ๒๐ วินาที
รวมเป็น ๑๓ นาที ๒๐ วินาที

และท้ายสุด เวลา ๑๔ นาที
ที่เราต้องการจะไปอยู่ในข่ายของราศีกรกฎ ครับ

ได้ตำแหน่งแล้ว
เราเอาดาวเกษตรของราศีกรกฎ คือ ๒ มาตั้งเป็นตนุ

geranun.com กล่าวว่า...

หามรณะ
ตรงนี้ ก็ต้องอ่านช้า ๆ นะครับ

หลักการคล้ายกับตนุ
ตรงที่เราต้องหาก่อนว่า ช่วงเวลาที่เราประสงค์
ผ่านต้นยาม กลางยาม ปลายยาม มากี่นาที

ซึ่งตรงนี้ เช่นเดียวกันกับตอนหาตนุ
คือ ผ่านมา ๑๔ นาที

ให้เริ่มต้นนับ จากราศีที่เราเอามาเป็นอัตตะ
คือ ราศีพิจิก หรือราศีที่ตรียางค์ตกนั่นแหละเป็นต้นนับ

และนับไปเรื่อย ๆ
ช่องละ ๒ นาที ๓๐ วินาที
นับแบบเวียนซ้ายเหมือนนับตนุครับ

เวลานับ นับง่าย ๆ ครับ สองราศี ๕ นาที

เริ่มที่พิจิก ธนู ห้านาที

มังกร กุมภ์
อีกห้านาที รวมเป็นสิบนาที

มีน เมษ รวมได้สิบห้านาที

สรุปคือ ช่วงเวลา ๑๔ นาที
เรานับตกในข่ายเวลาที่ราศีเมษครับ

เอา ๓ ที่เป็นเกษตรราศีเมษมาใช้เป็นมรณะ
ได้ดวง ๓ ๒ ๓ ครับ

ที่มา - ท่านถั่วงอกเรียกอาจารย์

ผู้ติดตาม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน